วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เนื่องในวันอาสาฬหบูชา




วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า...
"ธัมมจักกัปปวัตตสูตร"
แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม

   เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง...

พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาด
แก่นสาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆโดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่
รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำไปชี้แจงอธิบายให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘ ...

ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า

ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ
ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ...

   ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค

   ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่ ...

     ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
     ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
     ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
     ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
     ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
     ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
     ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
     ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
     ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่ ...

   ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด...

   ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ ...

   ๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา ...

   ๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น...

 ผ ล จ า ก ก า ร แ ส ด ง ป ฐ ม เท ศ น า

     เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่าโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพชาและถือเป็นพระภิกษุสาวก รูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ...

ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง อ า ส า ฬ ห บู ช า

     “อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา ...

     โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ ...

๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา
๓. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
๔. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
๕. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า...

     เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ว่า วันพระสงฆ์ ...
(คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์) ...

    พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา...
(ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิตนี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด...

...วันอาสาฬหบูชา ถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น...
ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่นๆ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชา...
เทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา ...

...ที่มาจาก...

 ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญไทย (เสฐียรโกเศศ และ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ,๒๕๔๑ : ๓๙ - ๕๙)


วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นักโหราศาสตร์ ๔ ระดับ


                                    ...เป็นข้อความบางส่วนจากหนังสือ "โฮ๋ราสาด"ในเื่รื่อง "ดาวลอย"...

                        ...ประพันธ์โดย  หมอเถา [ วัลย์ ] อ.อรุณ ลำเพ็ญ กล่าวถึงว่า "นักโหราศาสตร์ ๔ ระดับ...


                                                                 ...อ.อรุณ ลำเพ็ญ...

...เนื้อหามีดังนี้...

...“อาตมามีศิษย์คนบ้านนอกกะเขาเพียง ๓ คน จะเป็นอาจารย์ใหญ่ได้อย่างไร” 

หลวงตาค้านเต็มเสียง นักโหราศาสตร์เขามีอยู่ ๔ ระดับ คือ ๔ นัก นักที่หนึ่งคือ นักเรียนพบตำรับตำราก็ซื้ออ่านดะ จดจำเอาไว้หมดพบทานผู้รู้ก็ถามและจดจำไว้อีก เพื่อนฝูงใครแนะนำไม่ได้ จดจำเอาไว้แม่นยำ บางคนเรียนรู้มากๆเข้าทำให้สติปัญญาเคยฉลาดปราดเปรื่องกลายเป็นโง่ไป เพราะเอาแต่จดจำ ถ้าใครถามจะตอบหลักเกณฑ์คล่องปร๋อตามตำราเปรี้ยะ เขาเรียก นักเรียนโหราศาสตร์” 

คุณพิชิตพี่ชายนายอำเภอถูกใจสำนวนหลวงตา จึงถามต่อ ...

แล้วนักที่ ๒ เล่าขอรับ

หลวงตาจึงวิสัชนาต่อ นักที่ ๒ คือ นักเล่น ถ้าผ่านนักเรียนที่เรียนรู้มา นำเอาหลักเกณฑ์โหราศาสตร์วิธีนั้นบ้างวิธีนี้บ้างมาลองใช้ทายเขาถูกบ้างผิดบ้างเป็นเครื่องสอนตนเองไป หัดดูดวงลูกหลานและเพื่อนๆไปพลางก่อนเป็นการเล่นๆไม่จริงจังดวงใดดาวใดเข้ากฏทายได้ก็ทายไปตามตำราเขาว่าไว้ ดาวใดภพใดมันซับซ้อนเงื่อนอ่านไม่ออกก็เฉยเสีย เลือกทายเอาแต่ที่พอรู้เขาเรียก นักเล่นโหราศาสตร์


นายอำเภอชอบใจความคิดของหลวงตาชื้นในการจิดอันดับชั้นนักโหราศาสตร์จึงช่วยถามต่อ...


 “แล้วนักที่ ๓ ล่ะขอรับหลวงตา

หลวงตาชื้นอธิบายต่อคล่องปากคล่องใจไม่ติดขัด “ชั้นที่ ๓ นี้ เขาเรียก นักเลง เป็นขั้นใช้งานได้แล้ว ขั้นนี้เป็นขั้นสำคัญตอนนักเล่นจะเลื่อนชั้นเป็นนักเลงนั้นยากมากและมีน้อย นักเล่น ๑๐ คนจะได้เป็นนักเลงสักคนก็ทั้งยาก ส่วนมากมักจะวนเวียนเป็นนักเล่นโหราศาสตร์ไปตลอดชีวิต บางคนมีความรู้ความสามารถเป็นนักเล่นหนักๆเข้าลดชั้นหวลกลับไปเป็นนักเรียนเสียอีกก็มี บางคนเบื่อหน่ายไม่มีทางก้าวหน้าเลยเลิกเล่นไปเสียก็มาก ขั้นนักเลงนี้เป็นขั้นที่พบว่ากฎเกณฑ์ใดใช้ไม่ได้ก็ทิ้งไปยึดถือกฎเกณฑ์ที่ถูกทางใช้ได้ไว้พยากรณ์เขาได้ทั้งทางเดิมทางจร คล่องตัวบ้างก็ก้าวไปถึงขั้นอาชีพเป็นหน้าเป็นตามีชื่อเสียง ส่วนจะเป็นนักเลงเล็ก นักเลงใหญ่ นักเลงเก่า นักเลงใหม่ สุดแต่อัจฉริยะและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล


หลวงตาไม่ต้องรอให้ใครซักก็อธิบายต่อไปอีก...


 “นักที่ ๔ นี้เป็นนักสุดยอดแล้ว คือ เป็นนักปราชญ์ ซึ่งเป็นผู้รอบรู้โหราศาสตร์โดยแตกฉาน ทั้งเจนจบในหลักเกณฑ์และคัมภีร์ทั้งปวง รอบรู้ทั้งภาคพื้นฟ้าอันเกี่ยวแก่การโคจรของดวงดาวทั้งหลาย และภาคพื้นดินคือการพยากรณ์ชีวิตมนุษย์ได้โดยถูกต้องและแม่นยำ แต่โบราณทานแบ่งวิชาโหราศาสตร์ไว้ ๓ ภาค คือ ...

ภาคคำนวณ รู้การคำนวณดาวเดือนบนท้องฟ้าและฤกษ์ยามทั้งปวง 


ภาคพยากรณ์ รู้เหตุอันจะเกิดจะเป็นของชีวิต และให้ฤกษ์ให้ยาม


ภาคพิธีกรรม รู้การบวงสรวงและพิธีกรรม 


...ในกรมโหรสมัยก่อนแบ่งกันเป็นแผนกๆตามภาคพื้นความรู้ พนักงานโหรมักรอบรู้เพียงแต่ละภาคเป็นส่วนใหญ่
 ผู้แตกฉานทั้ง ๓ ภาคมักจะได้ตำแหน่งพระยาโหรา เจ้ากรมโหร”...



...นักโหราศาสตร์ ทั้ง ๔ ระดับเอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ละครับ...สวัสดี...