วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555
ธรรมปู่สอน
...ธรรมะของหลวงปู่ลึกซึ้งหาได้ยาก...หากเรารู้จักที่จะน้อมมาดูตัวเราก็จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง...
...ดังที่ท่านเคยสอนไว้ว่า...
...ตอน พึ่งรู้ว่ากูโง่...
...สำคัญที่สุดคือทบทวนพฤติกรรมของเราเอง...
...ถ้าย้งเลือกทำสิ่งที่ตัวเองชอบ พอใจ ยินดี...
...ไม่สามารถยอมรับความไม่ยินดี ไม่พอใจ...
...เราตั้งเงื่อนไขไว้ก่อนปฏิบัติ ไม่ทำตัวเป็นภาชนะที่ว่างเปล่า...
...ไม่ระวังกาย วาจา ใจ ของเราเอง...
...เราควรเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงจากตัวเราเอง...
...ไม่ใช่ไปเรียกร้องจากผู้อื่น สังสารวัฏเป็นอย่างนี้...
...มีทั้งความพอใจไม่พอใจ มีมืดมีสว่าง มีขาวมีดำ มีสูงมีต่ำ...
...เมื่อเห็นสิ่งหนึ่งก็เห็นอีกสิ่งหนึ่ง...
...แต่พวกเราไม่ทำความเข้าใจกับความเป็นปกติอันนั้น...
...รอแค่เวลา...
...คนเราเมื่อถึงจุดเปลี่ยนมันจะเปลี่ยนเลย...
...แต่กว่าคนจะถึงจุดเปลี่ยนนั้นได้...
...แต่ละคนมีอุปสรรค มีทางเดินของตนเองไม่เหมือนกัน...
...ต่างวาระต่างกรรม...
...อดทนซักนิดไม่ว่าเรื่องอะไร...
...มองเป็นเรื่องธรรมดา...
...เช่น เราให้อภัยคนอื่น แต่เขาไม่ยอมจบ...
...เราต้องอดทน พอถึงบทจะเปลี่ยนมันก็เปลี่ยนเอง...
...บางครั้ง เงื่อนไขมันยังไม่สุกงอม...
...รอแค่เวลาเท่านั้น...
...กิเลสตัวเอง...
...เริ่มต้นให้เห็นกิเลสตัวเองเข้าใจตัวเอง...
...รู้ว่าเรายังมีกิเลสตัวไหน...
...บางคนบอกว่ารู้ทุกอย่าง ธรรมะเราอ่านมาเยอะ...
...แต่ทำไมเรายังเพ่งโทษคนอื่นอยู่...
...อยากให้เขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้...
...อยากให้เขาคิดเหมือนเรา เห็นว่าเราดีกว่าเขา อัตตาเต็มตัว...
...เมื่อจิตขาดความเป็นกลางก็มองไม่เห็น...
...คนมีสติจึงจะได้เห็นกิเลสชัดขึ้น...
...เมื่อเห็นแล้วก็หัดฝืนจิตตัวเอง ทีเรื่องอื่นยังดัดจริตได้...
...แล้วทำไมไม่รู้จักดัดจริตของตนเพื่อฝืนกิเลสบ้าง...
...การปล่อยวาง...
...เมื่อถึงวันหนึ่งเวลาหนึ่ง เราจำเป็นจะต้องปล่อยวาง...
...ละวางหน้าที่เหล่านั้นทั้งหมดเสีย...
...เหตุผลคือ ไม่ว่าเราทำมากเท่าไร ก็ไม่พออยู่นั่นเอง...
...เพราะการเกิด แก่ เจ็บ ตาย...
...ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ภพและชาติ...
...หมุนเวียนเปลี่ยนไปไม่จบสิ้น...
...สิ่งที่เป็นเหล่านี้ ไม่ว่าทำดีมากกว่านี้ น้อยกว่านี้...
...สุดท้ายมันก็ยังไม่พออยู่ดี...
...คือเรายังเติมเต็มมันไม่ได้...
...ทำอย่างไรถึงจะเติมเต็มมันได้...
...คือการค้นหาแนวทางที่เที่ยงแท้แน่นอน...
...ทำอย่างไรถึงจะละ ปลดหน้าที่เหล่านั้นได้ทั้งหมด...
...อย่ารับผิดชอบหน้าที่อื่นๆมากกว่าหน้าที่ของเราเอง...
...ต่อให้เราทำหน้าที่อื่นๆได้ดีเท่าไรก็ไม่มีประโยชน์...
...เพราะหน้าที่ทั้งหมดเกิดขึ้นจากตัวเรา...
...เราเป็นคนสร้างหน้าที่เหล่านั้นขึ้นมา...
...หากแต่เราไม่เคยรับผิดชอบชีวิตของเราเลยสักครั้ง...
...หน้าที่ของมนุษย์คือการละวางหน้าที่ทั้งปวงออกเสียให้ได้...
...เห็นไหมพอเริ่ม จะปลดออก วางออก ก็ยังทำไม่ได้...
...ยังเห็นว่าอันนั้นสำคัญ อันนี้สำคัญกว่า...
...หากคือว่าสิ่งที่เราทำหรือปฏิบัติ...
...เป็นการเรียนรู้เป็นการศึกษาไม่ผิด...
...แต่ถ้าทำมากเกินไปกลายเป็นไม่มีขอบเขต ทำแล้วไม่จบสักที...
...เราต้องวางกรอบของวิถีชีวิต คำนึงว่ามันไม่ยืดยาว...
...เหมือนดั่งที่พระพุทธเจ้าเคยถามพระอานนท์ว่า...
"ดูก่อน...อานนท์ เธอคิดถึงความตายวันละกี่ครั้ง?"
...พระอานนท์ตอบพระพุทธเจ้าว่า...
"คิดถึงความตายวันละประมาณ ๗ ครั้งพระพุทธเจ้าข้า"
...พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า...
"อานนท์...ห่างเกินไป ตถาคตนี่คิดถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก"
...โลกทั้งโลกเราแก้อะไรไม่ได้หรอก...
...แก้แล้วก็มีทุกข์ใหม่เกิดอยู่ดี...
...ไม่ทุกข์กาย ก็ทุกข์ใจอยู่อย่างนั้นไม่จบสิ้น...
...เติมกายให้อิ่ม ใจก็พร่องอยู่...
...เติมใจให้อิ่ม กายก็พร่องอยู่...
...วิธีการที่ดีที่สุด ไม่ใช่เติมหรือไม่เติม...
...พระพุทธเจ้าใช้คำว่า"สัมมา" ความเป็นกลาง...
...เดินอยู่ในทางสายกลาง ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป...
...ธรรมปู่สอนยังมีอีกไม่หมดสิ้น...คงจะพบกันอีกได้ในบทความต่อไป...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)